การเสริมสร้างกระดูกอ่อน (Cartilaginous) ให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ด้วย “โปรตีนเข้มข้น” และ “คอลลาเจน”
ความสูงของคนเรา ส่วนหนึ่งมาจากความยาวของกระดูกสันหลัง ซึ่งกระดูกสันหลังของคนเรานั้น จะมีทั้งหมด 24 ชิ้น แบ่งออกเป็นส่วนคอ 7 ชิ้น ส่วนหลังบริเวณอก 12 ชิ้น และส่วนกระดูกด้านข้าง 5 ชิ้น โดยกระดูกสันหลังจะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ ส่วนที่เป็นกระดูกแข็ง และส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างกระดูกแข็ง ในส่วนนี้เรียกว่า “Disk” เป็นส่วนที่สามารถเจริญเติบโตได้เรื่อยๆ มีความหนาและบางแตกต่างกันไป เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนมากเพียงพอ ร่างกายก็จะทำการสังเคราะห์ให้กลายเป็น “คอลลาเจน” ใช้ในกระบวนการสร้างความหนาให้กับกระดูกอ่อนต่อไป ทำให้กระดูกสันหลังยืดขึ้นและทำให้เราสูงขึ้น
เพิ่มศักยภาพการสร้าง “โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)” ให้กับร่างกายด้วย กรดอะมิโน แอลอาร์จินีน (L-arginine)

การ
เพิ่มความสูงของคนเรา ส่วนหนึ่งมาจากการสร้าง “โกรทฮอร์โมน” ที่สมบูรณ์ โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วงที่เรานอนหลับสนิท ดังนั้นการที่เรานอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ เช่น นอนหลับไม่สนิท หลับยาก รวมไปถึงการนอนดึก จะทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างโกรทฮอร์โมนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นแล้ว การเสริมกรดอะมิโน แอลอาร์จินีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นให้กับร่างกายในการสร้างโกรทฮอร์โมน เมื่อร่างกายมีการสร้างโกรทฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นตามมา
กระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนส่วนปลายด้วย “Zinc”

กระดูกอ่อนส่วนปลายนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความหนาให้กับกระดูกอ่อน “Zinc” จึงถือเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกอ่อน ซึ่งในเด็กหากขาด Zinc ก็จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต อยู่ในภาวะโตช้า เพราะนอกจากเรื่องกระดูกแล้ว Zinc ยังมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหารให้กับร่างกายอีกด้วย
ยืดกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายด้วยการยืดเส้น เป็นกระบวนการยืดกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย เพื่อรองรับการขยายตัวของกระดูกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น ต้องมีการเคลื่อนไหวทั่วทั้งร่างกาย อาทิ การกระโดดเอื้อมแตะสิ่งของที่สูงกว่า ว่ายน้ำ เล่นโยคะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 – 45 นาทีให้เหงื่อออก ไม่แนะนำให้กระโดดเชือก หรือวิ่งหนักๆ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง มากกว่าที่จะยืดให้สูงขึ้น
เสริมสร้างกระดูกอ่อนให้แข็งแรงด้วย “แคลเซียม” “แมกนีเซียม” และ “วิตามินดี 3”

แคลเซียม แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญและขาดไม่ได้ในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง การที่ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้ จำเป็นต้องอาศัยวิตามินดีในการดูดซึม และสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งแคลเซียมยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท เนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ อีกด้วย
References:
Adachi JD, Bensen WG, Bianchi F, et al. Vitamin D and calcium in the prevention of corticosteroid induced osteoporosis: a 3 year followup. J Rheumatol 1996;23:995-1000.
Adachi JD, Ioannidis G. Calcium and vitamin D therapy in corticosteroid-induced bone loss: what is the evidence? Calcif Tissue Int 1999;65:332-6.
Ahee P, Crowe AV. The management of hyperkalaemia in the emergency department. J Accid Emerg Med 2000;17:188-91.
Akerstrom G, Hellman P, Hessman O, et al. Parathyroid glands in calcium regulation and human disease. Ann N Y Acad Sci 2005;1040:53-8.
Allender PS, Cutler JA, Follmann D, et al. Dietary calcium and blood pressure: a meta-analysis of randomized clinical trials. Ann Intern Med 1996;124:825-31.
Alvir JM, Thys-Jacobs S. Premenstrual and menstrual symptom clusters and response to calcium treatment. Psychopharmacol Bull 1991;27:145-8.
Anderson JJ. Calcium requirements during adolescence to maximize bone health. J Am Coll Nutr 2001;20:186S-91S.
Ariyan CE, Sosa JA. Assessment and management of patients with abnormal calcium. Crit Care Med 2004;32:S146-54.
Baeksgaard L, Andersen KP, Hyldstrup L. Calcium and vitamin D supplementation increases spinal BMD in healthy, postmenopausal women. Osteoporos Int 1998;8:255-60.
Bania TC, Blaufeux B,
Brewer GJ, Dick RD, Johnson VD, et al. Treatment of Wilson’s disease with zinc: XV long-term follow-up studies. J Lab Clin Med 1998;132:264-78.
Brewer GJ, Yuzbasiyan-Gurkan V, Johnson V, et al. Treatment of Wilson’s disease with zinc: XI. Interaction with other anticopper agents. J Am Coll Nutr 1993;12:26-30.
Brody I. Topical treatment of recurrent herpes simplex and post-herpetic erythema multiforme with low concentrations of zinc sulphate solution. Br J Dermatol 1981;104:191-4.
Brook AC, Johnston DG, Ward MK, et al. Absence of a therapeutic effect of zinc in the sexual dysfunction of haemodialysed patients Lancet 1980;2:618-20.
Brooks WA, Yunus M, Santosham M, et al. Zinc for severe pneumonia in very young children: double-blind placebo-controlled trial. Lancet 2004;363:1683-8.
Broun ER, Greist A, Tricot G, Hoffman R. Excessive zinc ingestion. A reversible cause of sideroblastic anemia and bone marrow depression. JAMA 1990;264:1441-3.
Burd GD. Morphological study of the effects of intranasal zinc sulfate irrigation on the mouse olfactory epithelium and olfactory bulb. Microsc Res Tech 1993;24:195-213.
Burnham TH, ed. Drug Facts and Comparisons, Updated Monthly. Facts and Comparisons, St. Louis, MO.
Burrows NP, Turnbull AJ, Punchard NA, et al. A trial of oral zinc supplementation in psoriasis. Cutis 1994;54:117-8.
ขอบคุณที่มา
www.miraclas.com